กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค

EN

การกำกับดูแลกิจการ

1. องค์ประกอบของหลักการของการกำกับดูแลกิจการที่ดี

องค์ประกอบของหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่บริษัทฯ ยึดถือและมุ่งมั่นให้ผู้บริหารและพนักงานถือปฏิบัติ มีดังนี้

1.1. ความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจและการกระทำของตนเองและสามารถชี้แจง / อธิบายได้ ( Accountability)
1.2. ความรับผิดชอบต่อการปฏิบัติหน้าที่
( Responsibility)
1.3. ความยุติธรรมและซื่อสัตย์ ( Fairness and Integrity)
1.4. การดำเนินงานที่โปร่งใส (Transparency)
1.5. การสร้างคุณค่าระยะยาวแก่ผู้มีผลประโยชน์ร่วมกัน (Creation of Long-term Value to all Stakeholders)

2. ปัจจัยที่จะทำให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ปัจจัยภายในของบริษัทฯ ในการผลักดันให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี คือ

  1. ความเป็นมืออาชีพ (Professionalism) ของบุคลากรทุกระดับ อาทิเช่น
    • มีความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในหน้าที่ที่รับผิดชอบ
    • มีความซื่อสัตย์สุจริต
    • มีวินัย และมีความสำนึกในหน้าที่ความรับผิดชอบของตน
    • พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่สิ่งที่ดีขึ้น และรู้จักตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลง
  2. ระบบการควบคุมภายในที่ดี (Good Internal Control System) โดยมีความโปร่งใสและรัดกุมใน การดำเนินงาน
  3. การปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเป็นที่เชื่อถือต่อผู้ที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน (Fiduciary Duties towards Stakeholders)
    • ผู้ถือหุ้น (Shareholders) คือ ผู้ถือหุ้นบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด และผู้ถือหน่วยลงทุน ในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค โดยจะต้องดูแลการลงทุนของผู้ถือหุ้น ให้ได้ผลตอบแทนที่ เหมะสมและยุติธรรม ปกป้องรักษาทรัพย์สิน และสถานภาพทางการเงิน ให้มีสภาวะมั่นคง พัฒนางานของบริษัทฯ เพื่อประโยชน์ต่อความคงอยู่และความเจริญเติบโตของบริษัทฯ
    • ลูกค้า (Customers) ด้วยการจัดหาผลิตภัณฑ์และการบริการต่างๆ ที่คุ้มค่าในด้าน คุณภาพ ความปลอดภัย และก่อให้เกิดความพึงพอใจ โดยยึดถือหลักในการดำเนินธุรกิจ "ลูกค้าอยู่ได้บริษัทถึงจะอยู่ได้"
    • พนักงาน (Employees) ด้วยการส่งเสริมและพัฒนาความสามารถของพนักงาน ให้เกิดศักยภาพ ในการปฏิบัติงานสูงสุด โดยจัดให้มีสภาพการจ้างที่ยุติธรรมและมีโอกาสก้าวหน้าในบริษัทอย่าง เป็นธรรม และจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีและปลอดภัย
    • รัฐบาล (Government) ด้วยการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐ รวมทั้งการปฏิบัติตามกฎหมายและ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
    • สังคมและสิ่งแวดล้อม (Public & Environment) ด้วยการดำเนินธุรกิจในฐานะพลเมืองที่ดี มี ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อปกป้องผลกระทบใดๆ ที่ก่อ ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของ ชุมชน สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    • คู่ค้า / ผู้ขาย (Suppliers) ด้วยการปฏิบัติต่อคู่ค้า / ผู้ขายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยคำนึง ถึงประโยชน์ต่อบริษัทสูงสุด
    • เจ้าหนี้ (Lenders) ด้วยการปฏิบัติตามพันธะสัญญา และให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าหนี้ ตามลำดับ ชั้นของหนี้ตามสัญญาที่ได้กระทำไว้
    • คู่แข่ง (Competitors) ด้วยการไม่เอาเปรียบ ดูหมิ่นคู่แข่ง และปฏิบัติต่อกันอย่างมืออาชีพ

3. วัตถุประสงค์ในการกำหนดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี

หลักการกำกับดูแลกิจการของบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ถูกกำหนดขึ้นเพื่อเป็นมาตรฐานความประพฤติที่ดีในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ (Codes of Best Practices)

  • เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคนในบริษัท โดยผู้ถือปฏิบัติ คือ พนักงานและผู้บริหารทุกระดับ

  • เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคนในบริษัท โดยผู้ถือปฏิบัติ คือ พนักงานและผู้บริหารทุกระดับ

4. การปฏิบัติให้สำเร็จ

การกำกับดูแลกิจการที่ดีจะต้องได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานทุกระดับในการปฏิบัติให้เป็นจริงดังนั้นพนักงานทุกระดับจะต้องมีความรับผิดชอบในการรับรู้ทำความเข้าใจยึดมั่น และปฏิบัติให้ถูกต้องงเป็นประจำโดยใช้ดุลยพินิจอย่างถูกต้องเหมาะสม ผู้ฝ่าฝืนจะถือเป็นความผิดร้ายแรงและจะถูกลงโทษทางวินัย ตามระเบียบของบริษัท

พนักงาน

1. นโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคล

  • บริษัทฯ จะสนับสนุนให้พนักงานทุกระดับ ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดและจะจัดให้มีสภาพการจ้างงานที่ยุติธรรมและมีโอกาสก้าวหน้าในบริษัทฯ อย่างเป็นธรรม
  • บริษัทฯ ตระหนักถึงคุณค่าทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทฯ และจะส่งเสริมให้พนักงานเข้าร่วมกิจกรรมของสังคมภาย
    นอกบริษัทฯ ภายใต้ขอบเขตนโยบายของบริษัทฯ
  • บริษัทฯ จะปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนโดยเสมอภาคกันโดยไม่แบ่งแยกพื้นฐานในเรื่องเชื้อชาติ เพศ สีผิว ศาสนา ชาติกำเนิด อายุ รสนิยมทางเพศ ความพิการทางร่างกาย หรือลักษณะส่วนบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานและจะดูแลไม่ให้เกิดการคุกคามหรือข่มขู่ต่อบุคลากรทุกระดับ ไม่ว่าจากบุคคลใดๆ หรือโดยวิธีใดๆ

2. จรรยาบรรณพนักงาน

จรรยาบรรณพนักงาน หมายถึง ข้อปฏิบัติต่างๆ ที่บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด ถือว่าเป็นจริยธรรมในการดำเนินงานและประกอบธุรกิจ ซึ่งบริษัทฯ ปรารถนาให้ฝ่ายจัดการและพนักงานทุกคน ประพฤติตามหลักจรรยาบรรณนี้อย่างสม่ำเสมอ ตลอดเวลา ในทุกกรณี และอาจรวมถึงผู้ปฏิบัติงานสมทบกับพนักงานของผู้รับจ้างด้วย ในกรณีที่กระทำการในนามบริษัทฯ

  1. ข้อประพฤติปฏิบัติต่อบริษัท
    พนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้
    • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรับผิดชอบและถือประโยชน์บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด เป็นสำคัญ เช่น
      • อุทิศตนให้แก่งานของบริษัทฯ อย่างเต็มที่
      • หลีกเลี่ยงการทำงานในสถานประกอบการอื่น หรือการเป็นตัวกระทำการให้ห้าง หุ้นส่วน บริษัท หรือบุคคลอื่นใด
      • หาทางปรับปรุงแก้ไขและพัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
    • ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรมหลีกเลี่ยงการกระทำใดๆ ที่อาจจะเป็น ข้อครหาในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตและเที่ยงธรรม เช่น
      • ไม่ใช้อำนาจหน้าที่ของตน หรือยอมให้ผู้อื่นอาศัยอำนาจหน้าที่ของตน ไม่ว่า โดยทางตรงหรือทางอ้อม แสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเองหรือผู้อื่น
      • ห้ามมิให้พนักงาน รวมทั้งคู่สมรสหรือผู้อยู่ในความอุปการะของครอบครัวพนักงานประกอบธุรกิจภายในศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต หรือมีผลประโยชน์ส่วนตัวใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากบริษัทฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
      • ห้ามมิให้พนักงานประกอบธุรกิจหรือทำงานกับบุคคล / องค์กรใด ๆ ที่มีลักษณะธุรกิจเช่นเดียวกับธุรกิจของบริษัทฯ หรือมีลักษณะแข่งขันกับธุรกิจของบริษัทฯ หรือมีลักษณะที่มีผลประโยชน์ขัดแย้งกับผลประโยชน์ของบริษัทฯ หรือมีลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ เว้นแต่ได้รับความยินยอมจากบริษัทฯ เป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ว่าธุรกิจหรือการทำงานนั้น ๆ จะทำระหว่างนอกเวลาทำงานหรือในเวลาทำงานของบริษัทฯ ก็ตาม
      • ไม่ใช้ข้อมูลหรือข่าวสารอันเป็นสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหลักทรัพย์ ของกองทุน อสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค (FUTUREPF) ที่ยังมิได้เปิดเผยต่อ ประชาชนเพื่อแสวงหากำไรหรือผลประโยชน์ไม่ ว่าทางตรงหรือทางอ้อมจากการ ซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนอสังหาริมทรัพย์
        ฟิวเจอร์พาร์ค (FUTUREPF)
      • ห้ามมิให้พนักงาน รวมทั้งคู่สมรส หรือผู้อยู่ในความอุปการะของครอบครัวพนักงานรับของขวัญเป็นเงินสด สิ่งของ บัตรกำนัล การรับบริการ หรือการรับประโยชน์ใด ๆ จากองค์กร ห้างร้านหรือบุคคล ซึ่งทำหรือกำลังจะทำธุรกิจการค้ากับบริษัทฯ เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนตัวของพนักงานเอง เว้นแต่ของขวัญหรือเงินสดที่ได้รับเป็นการให้เนื่องในโอกาสงานประเพณีต่างๆ ที่พนักงานจัดขึ้นอย่างเป็นทางการและจำนวนที่ได้รับเป็นจำนวนที่เหมาะสมกับการช่วยงานทั่วไป
      • รักษาความลับของบริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด และกองทุนอสังหาริมทรัพย์ ฟิวเจอร์พาร์ค โดยดูแลและระมัดระวังมิให้เอกสารหรือข่าวสารอันเป็นความลับของบริษัทฯ และกองทุนฯ รั่วไหล หรือตกไปถึงผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องอันอาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ บริษัทฯ และกองทุนฯ รวมทั้งการไม่ให้เอกสารหรือข่าวสารของบริษัทฯ และกองทุนฯ ที่ไม่พึงเปิดเผยแก่บุคคลภายนอกเว้นแต่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้จัดการ
      • ระมัดระวังการแสดงความเห็นต่อบุคคลภาพนอกในเรื่องที่อาจกระทบกระเทือน ต่อชื่อเสียงและการดำเนินงานของ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด
      • ใช้และรักษาทรัพย์สินของบริษัทฯ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประหยัด และไม่นำไป เพื่อประโยชน์ส่วนตน ไม่ใช้สถานที่ หรือสัญลักษณ์ ฯลฯ ของบริษัทฯ ในทาง เพื่อประโยชน์ส่วนตน รวมทั้งช่วยกันดูแลสถานที่ทำงานให้เป็นระเบียบและ สะอาดอยู่เสมอ
    • ข้อประพฤติปฏิบัติต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมพนักงานบริษัทฯมีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้
        • ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างที่ดีในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรพลังงานในการทำงานและชีวิตประจำวันอย่างประหยัด เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา กระดาษ ฯลฯ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการใช้ในลักษณะที่จะก่อให้เกิด อันตรายหรือมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน
        • เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์ และส่งเสริมความรู้ความเข้าใจทางวิชาการ ทั้ง ภายในและภายนอกบริษัทฯ เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาสังคมโดยส่วนรวม ให้เจริญก้าว หน้า ทั้งนี้ ต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่องานของบริษัทฯ
        • ข้อประพฤติปฏิบัติต่อผู้บังคับบัญชา ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน พนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้
          1. รักษาและเสริมสร้างความสามัคคีระหว่างผู้ร่วมงานและช่วยเหลือเกื้อกูล ซึ่งกัน และกันใน ทางที่สมควร เพื่อประโยชน์ต่องานของบริษัทฯ โดยส่วนรวม
          2. ปฏิบัติต่อผู้ใต้บังคับบัญชา ด้วยเมตตาธรรมและยุติธรรม ดูแลเอาใจใส่และพัฒนาผู้ใต้บังคับ บัญชา เพื่อให้มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน โดยการถ่ายทอดความรู้ในงาน สนับสนุน ให้ได้รับการอบรม และให้ได้เพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์อยู่เสมอ
          3. รับฟังความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของผู้ใต้บังคับบัญชาเกี่ยวกับงานในหน้าที่ และพิจารณา นำไปใช้ในทางที่เป็นประโยชน์ต่องานของบริษัทฯ
          4. รับฟังคำแนะนำของผู้บังคับบัญชา และไม่ปฏิบัติงานข้ามผู้บังคับบัญชาเหนือตน เว้นแต่ ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปเป็นผู้สั่งการ รวมทั้งมีความสุภาพต่อพนักงานที่มีตำแหน่งงาน เหนือตน
          5. หลีกเลี่ยงการนำเอาข้อมูลหรือเรื่องราวของพนักงานอื่น ทั้งในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน และเรื่องส่วนตัว ไปเปิดเผยหรือวิพากษ์วิจารณ์ในลักษณะที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ พนักงาน หรือภาพพจน์โดยส่วนรวมของ บริษัทฯ
          6. พึงปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานด้วยความสุภาพ มีน้ำใจ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ไม่ปิดบังข้อมูลที่จำ เป็นในการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงาน และปรับตนให้สามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้
          7. ให้เกียรติผู้อื่น เช่น ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาแอบอ้างเป็นผลงานของตน
          8. ข้อประพฤติปฏิบัติต่อตนเอง

      พนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

      • ศึกษาหาความรู้และประสบการณ์ เพื่อเสริมสร้างตนเองให้เป็นผู้มีคุณธรรม และความ สามารถในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลยิ่งขึ้น
      • ยึดมั่นในคุณธรรมและไม่แสวงหาตำแหน่งความดีความชอบ หรือประโยชน์อื่นใดโดยมิชอบ จากผู้บังคับบัญชาหรือจากบุคคลอื่นใด
      • ละเว้นจากอบายมุขทั้งปวง ไม่ประพฤติตนในทางที่อาจทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติ ศักดิ์ของตนเองและ บริษัทฯ เช่น
        • ไม่กระทำตนเป็นคนมีหนี้สินรุงรัง
        • ไม่หมกมุ่นในการพนันทุกประเภท
        • ไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือกระทำกิจการใดอันจะกระทบกระเทือนต่อการ ปฏิบัติหน้าที่หรือชื่อเสียงของตนเอง และบริษัทฯ
        • หลีกเลี่ยงการมีภาระผูกพันทางการเงินกับบุคคลที่ทำธุรกิจกับบริษัทฯ หรือระหว่าง พนักงานด้วยกันเอง รวมถึงการให้ยืมหรือกู้ยืมเงิน การเรียกร้องเรี่ยไรต่างๆ การใช้เช็คแลกเงินสด การเล่นแชร์ ฯลฯ ยกเว้นกิจกรรมเพื่อสาธารณะกุศล
      • การใช้ชื่อ "บริษัทรังสิตพลาซ่า จำกัด" และ"ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค" พนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้
        • การใช้ชื่อ"บริษัทรังสิตพลาซ่า จำกัด" และ "ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค" ต้องได้รับการอนุมัติ อย่างเป็นลายลักษณ์อักษรจากกรรมการผู้จัดการ เท่านั้น ยกเว้น การใช้ชื่อดังกล่าว เพื่อการ ปฏิบัติงานตามปกติ หรืองานที่ได้รับมอบหมาย
        • พนักงานไม่ควรใช้ชื่อ "บริษัทรังสิตพลาซ่า จำกัด" และ "ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค" เพื่อเรียก ความสนใจ หรือเพื่อขอเครดิต หรือบริการอื่น ๆ จากบุคคลภายนอกบริษัทฯ
        • อนึ่ง ในกรณีที่พนักงานละเมิดนโยบายเรื่องนี้ เป็นผลให้เกิดผลเสียหายต่อภาพพจน์ของ บริษัท รังสิตพลาซ่า จำกัด และศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิต บริษัทฯ จะดำเนินการลงโทษทางวินัยกับพนักงานตามความผิดในขั้นสูงสุด นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการกระทำความผิดต่อบุคคลภายนอก พนักงานต้องรับผิดชอบต่อพันธะผูกพันทางกฎหมายด้วยตนเอง
  2. คู่ค้า / ผู้ขาย
    การจัดซื้อ / จัดจ้าง บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะดำเนินการจัดซื้อ/จัดจ้างอย่างโปร่งใส ยุติธรรม ซื่อสัตย์ และไม่ให้มีอิทธิพลใด ๆ ที่ไม่ชอบธรรมแทรกแซงไว้ โดยยึดถือปฏิบัติด้วย
    • การรับตัวอย่างสินค้าไว้ทดลองใช้จะต้องมีระยะเวลาจำกัด และส่งมอบตัวอย่างคืน ให้กับคู่ค้า / ผู้ขายทันทีเมื่อครบกำหนด การทดลองใช้สินค้าตัวอย่าง ควรทำเพื่อการตรวจสอบและบันทึกข้อมูลด้านคุณภาพและสมรรถภาพของสินค้า และมีการบันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้เป็นหลักฐานเพื่อใช้อ้างอิงในการพิจารณาตัดสินใจซื้อ / จัดจ้าง ไม่ใช่เพื่อวัตถุประสงค์อื่น
    • ไม่เชิญคู่ค้า / ผู้ขายเข้าร่วมยื่นข้อเสนอ หรือประกวดราคาโดยไม่ได้มีความต้องการจัด ซื้อ / จัดจ้าง อย่างแท้จริง
      1. ควรเชิญเฉพาะคู่ค้า / ผู้ขายที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และความสามารถที่จะเข้าร่วมแข่งขัน
      2. ไม่ควรเชิญคู่ค้า / ผู้ขายมาประกวดราคาเพียงเพื่อจะใช้เป็นเครื่องมือสำหรับตั้งเงื่อนไขต่อ รองกับคู่ค้า / ผู้ขายรายอื่น
      3. หากต้องการเพียงตัวเลขในการประมาณการค่าใช้จ่ายหรือจัดทำงบประมาณ จะต้องแจ้งให้ คู่ค้า / ผู้ขาย ทราบอย่างแจ้งชัดล่วงหน้า
    • ให้กติกา โอกาส เวลา เนื้อหา และตัวเลขข้อมูลที่ชัดเจนถูกต้อง และปฏิบัติต่อคู่ค้า / ผู้ขายที่เข้าร่วมประกวดราคาโดยทัดเทียมกัน
      1. หากคู่ค้า / ผู้ขาย รายใดรายหนึ่งร้องขอข้อมูลเพิ่มเติม บริษัทฯ ต้องจัดส่งข้อมูลเพิ่มเติมนั้น ให้คู่ค้า / ผู้ขายรายอื่นๆ ที่ไม่ได้ร้องขอด้วย
      2. หากคู่ค้า / ผู้ขาย รายหนึ่งรายใดได้ร้องขอและได้รับอนุญาตให้เลื่อนกำหนดวันส่งเอกสาร การประมูล บริษัทฯ จะต้องแจ้งวันครบกำหนดใหม่นั้นให้รายอื่นๆ ทราบโดยทันทีเช่นกัน
    • รักษาข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากผู้เสนอราคา หรือผู้เข้าร่วมประกวดราคาแต่ละรายไว้เป็น ความลับ
      1. ไม่ควรเปิดเผยตัวเลขราคา หรือข้อมูลทางเทคนิคที่ได้รับจากคู่ค้า / ผู้ขาย รายหนึ่งให้กับราย อื่นทราบ เพื่อหวังผลประโยชน์ในระยะสั้น แต่จะต้องสูญเสียความไว้วางใจจากคู่ค้า / ผู้ขาย ในระยะยาว
      2. ระมัดระวังผู้ที่ทำตัวเป็นนายหน้าหาข้อมูล และไม่ตอบคำถามใดๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ที่อาจนำไปสู่การรั่วไหลของข้อมูลทั้งสิ้น
    • ไม่ฉวยโอกาสเอาผลประโยชน์ หรือทำโทษคู่ค้า / ผู้ขายจากความผิดพลาดเล็กน้อยที่ไม่ ได้ตั้งใจ หากพบว่าราคาที่เสนอโดยคู่ค้า / ผู้ขายต่ำผิดปกติ ควรตรวจสอบรายละเอียดให้แน่ใจ และขอยืนยันจากผู้เสนอราคาอีกครั้งหนึ่ง ว่าจะคงราคาตามที่เสนอนั้นจริง ทั้งนี้ต้องระมัดระวัง ด้วยว่าไม่มีการเปิดเผยข้อได้เปรียบ / เสียเปรียบจากผู้เสนอรายนี้ให้รายอื่น ๆ

3. สังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

  1. บริษัทฯ ให้ความสนับสนุนต่อสังคมและชุมชน และอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
    • สนับสนุนกิจกรรมสาธารณะประโยชน์ เช่น การร่วมกับหน่วยงานราชการในการรับบริจาค เพื่อ ช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ผู้ประสบภัยหนาว ฯลฯ รวมทั้งการบริจาคเงินช่วยเหลือตามสมควร
    • สนับสนุนการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การปลูกป่า การแยกขยะ การบำบัดน้ำเสีย ก่อนปล่อยลงแหล่งน้ำสาธารณะ ฯลฯ
  2. บริษัทฯ ให้ความสนับสนุนระบบการปกครองระบอบประชาธิปไตย
    • บริษัทฯ ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตย และส่งเสริมให้พนักงานไปใช้สิทธิเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ
    • บริษัทฯ ไม่มีนโยบายที่จะให้การสนับสนุนทางการเงิน ไม่ว่าโดยตรงหรือทางอ้อม แก่นักการเมือง หรือพรรคการเมืองใดๆ เพื่อผลประโยชน์ของนักการเมืองหรือพรรคการเมืองนั้น ๆ
  3. บริษัทฯ จะให้การสนับสนุนทางราชการ ที่เอื้อประโยชน์ต่อสาธารณะ โดยคำนึงถึงท้องถิ่นที่บริษัทฯ ตั้งอยู่ เป็นลำดับแรก

4. ผลประโยชน์ที่ขัดกัน

  1. หลักการของนโยบายเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ขัดกันคือการตัดสินใจใดๆของพนักงานในการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจจะต้องทำเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทรังสิตพลาซ่าจำกัดเท่านั้นการตัดสินใจดังกล่าวจะต้องปราศจากอิทธิพลทั้งทางตรงและทางอ้อมของผลประโยชน์ส่วนตัวของครอบครัวหรือบุคคลผู้ใกล้ชิด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจว่าอะไรเป็นผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ

    ขัดแย้งกับผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทหมายถึงผลประโยชน์ส่วนตัวหรือของครอบครัวหรือบุคคลผู้ใกล้ชิดไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินหรือด้านอื่นใดก็ตามซึ่งจะได้รับผลประโยชน์จาก1)การตัดสินใจของบุคคลนั้นในการปฏิบัติงานตามหน้าที่ให้กับบริษัทฯ หรือ 2)การรับรู้กิจกรรมการดำเนินงานหรือแผนการในอนาคตของบริษัทฯ

    บริษัทฯถือเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกระดับที่จะหลีกเลี่ยงการมีส่วนเกี่ยวข้องทางการเงินและความสัมพันธ์กับบุคคลภายนอกอื่นๆซึ่งจะส่งผลให้บริษัทฯต้องเสียผลประโยชน์หรือก่อให้เกิดความขัดแย้งในด้านความภักดีหรือผลประโยชน์หรือขัดขวางการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  2. คำจำกัดความ

    "ครอบครัว"หมายถึงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับไม่ว่าในทางสายเลือดหรือจากสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย รวมทั้งบุตรบุญธรรมตามกฎหมาย

    "บุคคลผู้ใกล้ชิด"หมายถึงบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับพนักงานทุกระดับในทางสัมพันธภาพใดๆอย่างใกล้ชิด

    "บริษัทคู่แข่ง"หมายถึงบริษัทที่ประกอบธุรกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศในลักษณะคล้ายหรือใกล้เคียงกับธุรกิจ
    ของบริษัทฯ

  3. การพิจารณาประจำปีเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่ขัดกัน

    ในแต่ละปีพนักงานทุกระดับจะต้องทบทวนและตระหนักเรื่องผลประโยชน์ที่ขัดกันของบริษัทฯและต้องแจ้งเรื่องซึ่งอาจเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันให้ด้านทรัพยากรบุคคลฯผ่านผู้บังคับบัญชาทราบโดยใช้แบบการเปิดเผยรายการที่เป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันของบริษัทฯ(แบบฟอร์มGG1)(รวมทั้งการแจ้งเหตุข้อสงสัยในเรื่องผลประโยชน์ที่ขัดกันเกิดขึ้นในระหว่างปีด้วย)

1. นโยบายเกี่ยวกับระบบการควบคุมภายใน

ด้านทรัพยากรบุคคลฯมีหน้าที่ติดตามผลการควบคุมภายในเป็นระยะๆเพื่อปรับปรุงให้มาตรการ ควบคุมต่างๆ มีความเหมาะสมกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมต่างๆ และความเสี่ยงที่แปรเปลี่ยนไป

การควบคุมภายในหมายถึงกระบวนการปฏิบัติงานหรือวิธีการปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดร่วมกันโดยคณะกรรมการบริษัทฯฝ่ายจัดการตลอดจนพนักงานทุกระดับในองค์กรเพื่อให้เกิดความมั่นใจอย่างสมเหตุสมผลว่าหากได้มีการปฏิบัติตามแล้วการปฏิบัติงานจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการปฏิบัติงานรวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆอย่างคุ้มค่าสมประโยชน์และการรายงานทางการเงิน(FinancialReporting) มีความถูกต้องเชื่อถือได้และทันเวลา

บริษัทฯ มีนโยบายเกี่ยวกับระบบควบคุมภายใน ดังนี้

  1. บริษัทฯ มีนโยบายจัดให้มีการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ
    • มุ่งมั่นให้ผู้บริหารตระหนักถึงความสำคัญของการควบคุมภายใน และสร้างให้มีขึ้นในงาน หรือในงานหรือกิจกรรมต่างๆ ทุกระดับของบริษัทฯ รวมทั้งวิธีดำเนินธุรกิจของผู้บริหาร
    • กำหนดมาตรการ รูปแบบ และวิธีการควบคุมภายในให้เหมาะสมกับสภาวะแวดล้อม ของ บริษัทฯ หรือกิจกรรมของหน่วยงาน ระดับความเสี่ยง และการบริหารความเสี่ยง
    • มุ่งมั่นให้ผู้บริหารจัดให้เกิดความสมดุลระหว่างความคล่องตัวในการปฏิบัติงานกับระดับ ความเพียงพอของการควบคุมภายในที่มีประสิทธิภาพ และต้นทุนการควบคุมภายในที่ เกิดขึ้น จะต้องคุ้มกับผลประโยชน์ที่ได้รับ
    • พนักงานทุกระดับจะต้องให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามมาตรการควบคุมภายใน โดย ปฏิบัติตามอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
  2. ระบบการควบคุมภายใน
    • การปฏิบัติงานมีมาตรฐาน (Standard of Best Practice) บริษัทฯ กำหนดให้มีการจัดทำคู่มือ การปฏิบัติงาน (Work Flow Manual) ของกิจกรรมที่สำคัญ ของแต่ละหน่วยงาน และมีการ ตรวจสอบว่ามีการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดไว้หรือไม่ มากน้อยเพียงใด รวมทั้งปรับปรุงวิธี ปฏิบัติงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
    • การสั่งการ การอนุมัติ เป็นไปตามสายการบังคับบัญชา (Line of Command) บริษัทฯ ส่ง เสริมให้พนักงานได้มีความรับผิดชอบการปฏิบัติงาน มีการตรวจสอบงาน การอนุมัติ และการ รายงงานผล อย่างเป็นลำดับชั้น เพื่อผู้บังคับบัญชาได้รับทราบการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับ บัญชา อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งมีการตรวจสอบการอนุมัติงานระหว่างหน่วยงาน (Check & Balance)
    • กิจกรรมการควบคุม (Control Activities) บริษัทฯ ได้ควบคุมการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ต่างๆ ผ่านระบบแผนงาน (Action Plan) และระบบงบประมาณ (Budget) ซึ่งมีการอนุมัติเป็นการ ล่วงหน้าก่อนปีดำเนินการ และมีการทบทวนแผนงานและงบประมาณ ทุก 6 เดือน เพื่อให้เหมาะ สมกับการดำเนินการของบริษัทฯ และสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้
    • การติดตามประเมินผล (Monitoring) บริษัทฯ กำหนดได้มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติ งานในทุกระดับ อย่างชัดเจน เช่น การประเมินผลปฏิบัติงานของพนักงานประจำปี การประเมิน ความพึงพอใจของลูกค้า / คู่ค้า / พนักงาน การรายงานผลการปฏิบัติงานของทุกหน่วยงาน ใน ระดับจัดการ ระดับกรรมการบริหาร เป็นรายเดือน รายไตรมาส และรายปี ฯลฯ
  3. การบริหารความเสี่ยง

    บริษัทฯได้แบ่งการบริหารความเสี่ยงออกเป็น2ระดับคือระดับนโยบายขององค์กรซึ่งกำกับดูแลโดยผู้บริหารระดับสูงและระดับกิจกรรมซึ่งกำกับดูแลโดยผู้ปฏิบัติในกิจกรรมหรือกระบวนการฯ นั้นๆ

    หลักการการบริหารความเสี่ยงของบริษัทฯ มีดังนี้

    • พิจารณาความรุนแรงและโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง โดยวิเคราะห์ความเบี่ยงเบนที่เกิดขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ และดำเนินการจัดการกับความเสี่ยงอย่างเหมาะสม
    • รวบรวมแนวทางการบริหารความเสี่ยงเข้าไว้กับระบบการควบคุมภายใน
    • กำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
    • นำนโยบายของคณะกรรมการฯ และฝ่ายจัดการที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงเฉพาะ มาปรับใช้ให้ เหมาะสม

2. นโยบายเกี่ยวกับรายการทางการบัญชี และการเงิน

พนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

  1. ปฏิบัติตามขั้นตอนกระบวนการควบคุมการบัญชีและการเงิน ระเบียบปฏิบัติ และระบบการควบคุม ภายใน รวมถึงข้อกำหนดทางการบัญชีและการเงินของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด
  2. ต้องส่งมอบเอกสารหลักฐานประกอบการลงรายการทางธุรกิจที่ครบถ้วน เพื่อให้พนักงานที่มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการบันทึกรายการทางบัญชีและการเงิน บันทึกลงในระบบบัญชีของบริษัทฯ โดยมีราย ละเอียดที่ถูกต้องและครบถ้วน
  3. การบันทึกรายการทางธุรกิจทุกอย่างของบริษัทฯ จะต้องถูกต้องครบถ้วน และสามารถตรวจสอบได้โดย ไม่มีข้อจำกัด หรือข้อยกเว้นใดๆ
  4. การบันทึกรายการบัญชีเป็นไปตามความเป็นจริง ไม่มีการบิดเบือนหรือสร้างรายการเท็จ ไม่ว่าจะ ด้วยวัตถุประสงค์ใดๆ ก็ตาม
  5. ตระหนักว่า ความถูกต้องของรายงานทางการบัญชีและการเงิน เป็นความรับผิดชอบร่วมกันของ พนักงานทุกคน ที่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นและผู้เกี่ยวข้อง

3. นโยบายเกี่ยวกับของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด

  1. คำจำกัดความ

    "ประโยชน์อื่นใด" หมายความว่า สิ่งที่มีมูลค่า ได้แก่ การลดราคา การรับความบันเทิง การรับบริการ การรับการฝึกอบรม หรือสิ่งอื่นใดในลักษณะเดียวกัน

    "การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดโดยธรรมจรรยา" หมายความว่า การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดจากญาติ หรือจากบุคคลที่ให้กันในโอกาสต่างๆ โดยปกติตามขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือวัฒนธรรม หรือให้กันตามมารยาทที่ปฏิบัติกันในสังคม

    "ญาติ" หมายความว่า บุพการี ผู้สืบสันดาน พี่น้องร่วมบิดามารดา หรือร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกัน ลุง ป้า น้า อา
    คู่สมรส บุพการี หรือผู้สืบสันดานของคู่สมรส บุตรบุญธรรม หรือผู้รับบุตรบุญธรรม

  2. นโยบายเกี่ยวกับเรื่องการรับของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด

    พนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

    • การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด จากบุคคลใดๆ ต้องมีลักษณะ ดังนี้
      • เป็นทรัพย์สินหรือประโยชน์ที่ ผู้ให้ระบุการให้เป็นของส่วนตัว
      • มีมูลค่าไม่เกินหนึ่งพันบาท
    • การรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ซึ่งผู้ให้มิได้ระบุให้เป็นของ ส่วนตัว หรือมีมูลค่าเกิน กว่าหนึ่งพันบาท และกรณีอื่นๆ ที่ไม่เป็นไปตามข้อ 3.2.1
      • ผู้รับต้องรายงานให้ผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลฯ พร้อมกับส่งมอบทรัพย์สินหรือประโยชน์ อื่นใดนั้น โดยใช้ แบบการรายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชฯอื่นใด (แบบฟอร์ม GG 2 )
      • ผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลฯ พิจารณาเห็นว่าไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้ผู้รับยึดถือทรัพย์สิน หรือประโยชน์นั้นๆ ไว้เป็นของส่วนตัว ผู้รับต้องส่งมอบให้กับผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลฯ เพื่อให้ตกเป็นทรัพย์สินส่วนกลางของบริษัทฯ ทราบ
    • การรับทรัพย์สิน ของขวัญ หรือประโยชน์อื่นใด จาก คู่ค้า / ผู้ขาย
      • ห้ามพนักงาน และ / หรือ ครอบครัว เรียกร้องของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดจาก ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง คู่ค้า / ผู้ขาย ผู้ร่วมทุน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจของ บริษัทฯ ไม่ว่าในกรณีใด
      • บริษัทฯ ไม่สนับสนุนให้ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง คู่ค้า / ผู้ขาย ผู้ร่วมทุน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยว ข้องกับธุรกิจของบริษัทฯ มอบของขวัญ ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่พนักงาน และ / หรือครอบครัว ซึ่งอาจมีผลต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติงานด้วยความ ลำเอียงหรือลำบากใจหรือเป็นผลประโยชน์ที่ขัดกันได้
      • หากผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง คู่ค้า / ผู้ขาย ผู้ร่วมทุน หรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจฯ ของ บริษัทฯ มอบของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่พนักงานในช่วงเทศกาลต่างๆ ที่ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ (แต่ต้องไม่เกินหนึ่งพันบาทถ้วน) บริษัทฯ ขอให้พนักงานใช้ดุลยพินิจ พิจารณาว่าสมควรรับหรือไม่ หากไม่แน่ใจ ให้ขอคำแนะนำจากผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลฯ
    • การรับของขวัญ เนื่องในวาระพิเศษ หรือ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่สำคัญๆ ของบริษัทอื่น

      บริษัทฯอนุญาตให้พนักงานรับของขวัญเนื่องในวาระพิเศษหรือเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์ที่สำคัญๆของบริษัทอื่นแทนบริษัทรังสิตพลาซ่าจำกัดได้และรายงานการได้มาและการจัดเก็บของขวัญเหล่านั้นไปยังผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคลฯโดยใช้แบบการรายงานการรับทรัพย์สินหรือประโยชฯอื่นใด (แบบฟอร์ม GG 2 )

  3. นโยบายเกี่ยวกับเรื่องการให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด

    พนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

    • การมอบของขวัญแก่ผู้บังคับบัญชา และ / บุคคลในครอบครัวของผู้บังคับบัญชา ห้ามผู้บังคับบัญชารับของขวัญจากพนักงานที่เป็นผู้อยู่ในบังคับบัญชา เว้นแต่กรณีปกติประเพณีนิยมที่มีการให้ของขวัญแก่กัน แต่ต้องมีราคาหรือมูลค่าไม่เกินหนึ่งพันบาท
    • การมอบของขวัญ ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด แก่บุคคลภายนอก พนักงานทุกระดับจะต้องใช้ดุลยพินิจอย่างถูกต้องในการให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์อื่นใดๆ ในลักษณะที่ไม่เกินสมควร หรือฟุ่มเฟือย หรือสุรุ่ยสุร่าย หรือผิดขนบธรรมเนียม ประเพณีอันดีงาม หรือขัดต่อกฎหมายของประเทศ.

4. นโยบายเกี่ยวกับความลับของบริษัทฯ

  1. กรรมการฝ่ายจัดการพนักงานผู้ปฏิบัติงานสมทบพนักงานของผู้รับจ้างของบริษัทฯที่ทำงานกับข้อมูลและเอกสารที่ไม่สามารถเปิดเผยต่อบุคคลภายนอกได้และ/หรือเป็นความลับทางการค้าเช่นความลับเกี่ยวกับข้อมูลการเงินการขายพื้นที่เช่าราคาพื้นที่เช่าฯลฯซึ่งถือเป็นความลับของบริษัทฯการปกป้องข้อมูลประเภทนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จของการบริหารงานของบริษัทฯในอนาคต

    พนักงานบริษัทฯ มีหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ ดังนี้

    • ปฏิบัติตามจรรยาบรรณพนักงานที่จะต้องไม่เปิดเผยข้อมูลและเอกสารที่เป็นความลับ หรือความลับ ทางการค้านั้นๆ อีกเป็นเวลาสองปี เมื่อพ้นจากหน้าที่ไปแล้ว
    • ทำความเข้าใจและปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล(Security)ซึ่งพัฒนาขึ้นเพื่อปกป้องข้อมูลอันเป็นความลับและปฏิบัติตามเพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลอันเป็นความลับถูกเปิดเผยโดยไม่เจตนา
    • การใช้ข้อมูลภายในต้องอยู่ในกรอบที่ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่พนักงานได้รับมอบหมาย เท่านั้น และต้องการดูแลปกปิดมิให้รั่วไหลออกไปภายนอกบริษัทฯ ได้
  2. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่บุคคลภายนอก

    หน่วยงานกลางที่เป็นผู้ให้ข้อมูลแก่สาธารณชนได้แก่ฝ่ายประชาสัมพันธ์(PublicRelation)จะเป็นผู้ให้ข่าวสารที่เกี่ยวกับบริษัทรังสิตพลาซ่าจำกัดและฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์(InvestorRelations)จะเป็นผู้ให้ข่าวสารที่เกี่ยวกับกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พารค์(FUTUREPF)โดยข่าวสารที่พนักงานบริษัทฯแจ้งแก่สาธารณชนต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการผู้จัดการหรือกรรมการผู้จัดการเป็นผู้ให้ข่าวสารเอง หรือมอบหมายให้ผู้หนึ่งผู้ใดเป็นผู้ให้ข่าวสาร

    หน่วยงานที่เป็นเจ้าของข้อมูล (Activity Owner) ต้องประสานงานกับรองกรรมการผู้จัดการสายงานสนับสนุน ผู้อำนวยการด้านที่เกี่ยวข้อง ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและจัดทำรายละเอียด (Fact Sheet) เพื่อส่งมอบให้กรรมการผู้จัดการ หรือผู้ที่กรรมการผู้จัดการมอบหมาย ให้เป็นผู้ให้ข่าวสาร

  3. การแสดงความเห็นแก่บุคคลภายนอก

    พนักงานบริษัทฯโดยทั่วไปไม่มีหน้าที่เปิดเผยหรือแสดงความเห็นแก่บุคคลอื่นใดภายนอกยกเว้นพนักงานที่ได้รับการมอบหมายจากกรรมการผู้จัดการเมื่อมีบุคคลภายนอกถามความเห็นในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานของบริษัทรังสิตพลาซ่าจำกัดหรือกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค(FUTUREPF)พนักงานผู้นั้นต้องแสดงงดแสดงความเห็นหรือแสดงความเห็นภายใต้ขอบเขตที่ได้รับอนุญาตจากกรรมการผู้จัดการเท่านั้น

5. นโยบายเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์

  1. การรายงานการถือครองหลักทรัพย์ในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์ค

    คณะกรรมการบริษัทฯ และฝ่ายจัดการ มีหน้าที่ต้องรายงานการถือหลักทรัพย์ของตนให้เป็นไปตามกฎระเบียบของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ

  2. การใช้ข้อมูลภายใน

    บริษัทฯเป็นผู้บริหารพื้นที่ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ครังสิตซึ่งกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ฟิวเจอร์พาร์คได้ลงทุนในสิทธิการเช่าของศูนย์การค้า (บางส่วน)ดังนั้นบริษัทฯต้องดำเนินการให้เกิดมีความเสมอภาคและยุติธรรมต่อผู้ถือหุ้นทุกรายอย่างเท่าเทียมกันและเพื่อเป็นการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายของพนักงานทุกระดับของบริษัทฯและครอบครัวที่อาจได้รับทราบข้อมูลภายในที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนดังนั้นบริษัทฯจึงห้ามพนักงานทุกระดับทำการซื้อขายหลักทรัพย์ของกองทุนฯหรือชักชวนให้บุคคลอื่นซื้อหรือขายหรือเสนอซื้อหรือเสนอขายหลักทรัพย์ของกองทุนฯไม่ว่าจะด้วยตนเองหรือผ่านนายหน้าในขณะที่ยังครอบครองข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชนอยู่โดยบริษัทฯและตลาดหลักทรัพย์ฯถือว่าเป็นการซื้อขายหลักทรัพย์เพื่อเก็งกำไรหรือสร้างความได้เปรียบให้กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง

  3. การป้องกันการใช้ข้อมูลภายใน
    • บริษัทฯ จะจำกัดการเข้าถึงข้อมูลที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะโดยให้รับรู้เฉพาะแก่ผู้เกี่ยวข้องและที่จำเป็นเท่านั้น
    • บริษัทฯ จะจัดระบบรักษาความปลอดภัยในที่ทำงานเพื่อป้องกันแฟ้มข้อมูลและเอกสารลับหาย
    • บริษัทฯ กำหนดให้เป็นหน้าที่ของพนักงานผู้ดูแล / เป็นเจ้าของข้อมูลที่ยังไม่เปิดเผยต่อสาธารณชน จะต้องกำชับผู้ที่เกี่ยวข้องให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการใช้ข้อมูลภายในโดยเคร่งครัด
  4. บทลงโทษสำหรับการใช้ข้อมูลภายใน

    ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษทางวินัย ตามระเบียบของบริษัทฯในขั้นสูงสุด และ / หรือได้รับโทษตามกฎหมาย แล้วแต่กรณี

6. นโยบายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้สื่อโทรคมนาคม

  1. การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

    การใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการเทคโนโลยีสารสนเทศหรืออุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมถือเป็นความรับผิดชอบของพนักงานทุกระดับที่จะใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเหมาะสมกับการปฏิบัติงานและสอดคล้องตามนโยบายและจรรยาบรรณของพนักงาน

  2. การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    • Internet

      บริษัทฯมีบริการInternetเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจและเป็นเครื่องมือแห่งการเรียนรู้รวมถึงการใช้ในกิจกรรมส่วนตัวตามสมควรแต่ห้ามมิให้นำไปใช้ในธุรกิจส่วนตัว

      พนักงานต้องหลีกเลี่ยง Internet Site ที่ บริษัทฯ ถือว่าผิดกฎหมาย หรือละเมิดศีลธรรมอันดีงาม และงดเว้นที่จะเผยแพร่ข้อมูลหรือข่าวสารของ Internet Site ดังกล่าวต่อผู้อื่น หาก พนักงานมีข้อสงสัยว่า Internet Site ใดที่ทำผิดกฎหมาย หรือละเมิดศีลธรรม ขอให้ปรึกษาผู้บริหารด้านสารสนเทศ กิจกรรมบน Internet ถือว่าเป็นกิจกรรมสาธารณะที่ผู้ใช้งานจะต้องใช้งานอย่างระมัดระวัง

    • Electronic Mail (E-mail)

      บริษัทฯ มีระบบ E-mail เพื่อให้พนักงานได้สื่อสารในกิจกรรมของบริษัทฯ และสามารถใช้เพื่อกิจกรรมส่วนตัวได้ตามสมควร แต่ห้ามมิให้นำไปใช้ในธุรกิจส่วนตัว

      พนักงานทุกระดับต้องหลีกเลี่ยงที่จะส่ง E-mail ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของ บริษัทฯ หรือสร้างความรำคาญต่อผู้อื่น หรือฝ่าฝืนนโยบายบริษัทฯ หรือทำผิดกฎหมาย หรือละเมิดศีลธรรม

      พนักงานผู้ใช้บริการ E-mail ควรรับทราบว่าเนื้อหาของ E-mail ส่วนตัวที่เก็บอยู่ในระบบEmailของบริษัทฯซึ่งอาจจะถูกตรวจสอบด้วยเหตุผลที่เหมาะสมโดยผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัทฯ

      การส่ง E-mailสำหรับข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องดำเนินการเข้ารหัสที่เหมาะสม

    • การเข้าถึงข้อมูล (Access)

      พนักงานที่ได้รับมอบหมายเท่านั้นที่มีสิทธิเข้าถึงแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์หรือรูปแบบอื่นๆการพยายามเข้าถึงข้อมูลเพื่อดูทำซ้ำเผยแพร่ลบทิ้งทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล เปลี่ยนรหัสผ่าน หรือกระทำการอื่นใดที่ทำให้เกิดความเสียหาย โดยผู้ที่ไม่ได้รับมอบหมาย บริษัทฯ ถือว่ามีความผิดทางวินัยพนักงาน

    • การใช้สื่อโทรคมนาคม

      อุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม ได้แก่ โทรศัพท์ โทรสาร โทรศัพท์มือถือ วิทยุติดตามตัว (Pager) วิทยุรับส่งอุปกรณ์รับสัญญาณดาวเทียม คู่สายเช่าต่าง ๆ เป็นต้น

      บริษัทฯ ได้ดำเนินการให้มีระบบการสื่อสารโทรคมนาคมเพื่อให้พนักงานใช้ในการสื่อสารเพื่อประโยชน์ทางธุรกิจของบริษัทฯ สำหรับการใช้เพื่อกิจกรรมส่วนตัวสามารถทำได้ตามสมควร แต่ห้ามมิให้นำไปใช้ในธุรกิจส่วนตัว พนักงานต้องหลีกเลี่ยงที่ใช้อุปกรณ์การสื่อสารโทรคมนาคมที่จะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานของบริษัทฯ หรือสร้างความรำคาญต่อผู้อื่น หรือฝ่าฝืนนโยบายบริษัทฯ หรือใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย

  3. สิทธิส่วนบุคคล (Privacy)

    บริษัทฯ มีนโยบายในการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิส่วนบุคคลของพนักงานในสถานที่ ทำงาน อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ สงวนสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศใดๆ ซึ่งจะรวมถึง Voice Mail และ E-mail ที่เก็บอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง หรืออุปกรณ์โทรคมนาคม อันเป็นทรัพย์สินหรือสิทธิของบริษัทฯ หรืออยู่ในพื้นที่ของบริษัทฯ พนักงานที่มีสิทธิพิเศษในการเข้าถึงเนื้อหา E-mail ของผู้อื่นได้ก็ต่อเมื่อได้รับความเห็นชอบจากกรรมการผู้จัดการเท่านั้น ผู้ที่เข้าถึงเนื้อหาของ E-mail ของผู้อื่นโดยมิได้รับอนุญาตจะถือว่ามีความผิดวินัยพนักงาน นอกจากนี้ บริษัทฯ มีสิทธิที่จะเปลี่ยนรหัสผ่าน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ สอบสวน หรือค้นหาแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ Voice Mail หรือ E-mail ดังกล่าว